1.Classroom management นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
เข้าใจว่า การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพของห้องเรียนให้มีความน่าอยู่ มีความสะดวกสบาย ให้ มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียน และ การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐาน วิชาชีพครู คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพ ครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ วิชาชีพภายใต้ข้อกำหนดของคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
1.มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือ
ฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินการปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
2.มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
3.มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครู ต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
การจัดชั้นเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นนอกจากครูที่เป็นผู้จัดการ เรียนการสอนแล้วยังต้องจัดบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยให้เด็กได้
-ภายในห้องเรียน เน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีมุมประสบการณ์ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุม ประสบการณ์ เช่น มุมบ้าน มุมหนังสือ มุมดนตรีเป็นต้น และทางโรงเรียนจะจัดทำห้องน้ำห้องส้วมไว้ภายในห้องเรียน เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของเด็ก
-ภายนอกห้องเรียน จัด ตกแต่งสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสวนหย่อมหน้าห้องเรียน เพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลิน เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็กหลักสำคัญในการจัดต้องยึดหลักการสะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น ทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้าหมายการเรียน ความเป็นระเบียบสวยงาม ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมี ความสุข
4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
1 การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
จัด ตกแต่งสภาพแวดล้อม ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสวนหย่อมหน้าห้องเรียน เพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลิน เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็กหลักสำคัญในการจัดต้องยึดหลักการสะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้าหมายการเรียน ความเป็นระเบียบสวยงาม ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมี ความสุขซึ่งอาจจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมตามแนวการจัด
2 สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย
สภาพ อาคารเรียนควรเน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีการจัดเป็นมุมต่างๆ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุม ประสบการณ์ เช่น มุมหนังสือ มุมดนตรี และในส่วนของความปลอดภัยทางโรงเรียนจะต้องจัดการซ่อมแซมและปรับปรุงส่วน ต่างๆให้มีความสะดวกและความปลอดภัยของเด็ก
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจ อย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจ อย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนตามความเข้าใจของข้าพเจ้าคือการ จัดการเรียนการสอนแล้วเด็กมีความรู้ สามารถทำข้อสอบได้ ได้ถือว่า มีการพัฒนาเด็กได้อย่างมีคุณภาพแล้วและยังส่งผลต่อเนื่องถึงชีวิตในอนาคต
ตัวอย่าง เช่น นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งหนึ่งได้คะแนนระดับดี ถือเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพผู้เรียน และยังสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้เป็นจำนวน
มาก ถือเป็นผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
6.ผล จากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียน รู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
มีวิธีที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียนคือ
ผมขอนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน มีสาระสำคัญคือ
1.มี การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน จัดอบรมส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในบางโอกาส
2.สนับสนุนการจัดตั้งชุมนุมจริยธรรม
3.มีกิจกรรมผึกให้นักเรียนทำสมาธิอย่างถูกวิธี เพื่อนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น