วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบ

1.Classroom management นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
เข้าใจว่า การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง  การจัดสภาพของห้องเรียนให้มีความน่าอยู่ มีความสะดวกสบาย  ให้ มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียน และ การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
 
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐาน วิชาชีพครู  คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพ ครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ วิชาชีพภายใต้ข้อกำหนดของคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
            1.มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1)      วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง
2)     วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือ
ฝึกอบรม วิชาชีพทาง    การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3)       ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินการปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
2.มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน  ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
3.มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน  ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1)  ครูต้องรักและเมตตาศิษย์  โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2)  ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3)  ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครู ต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
                           6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
การจัดชั้นเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นนอกจากครูที่เป็นผู้จัดการ เรียนการสอนแล้วยังต้องจัดบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยให้เด็กได้
-ภายในห้องเรียน เน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีมุมประสบการณ์ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุม ประสบการณ์ เช่น มุมบ้าน มุมหนังสือ มุมดนตรีเป็นต้น และทางโรงเรียนจะจัดทำห้องน้ำห้องส้วมไว้ภายในห้องเรียน เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของเด็ก
-ภายนอกห้องเรียน จัด ตกแต่งสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสวนหย่อมหน้าห้องเรียน เพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลิน เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็กหลักสำคัญในการจัดต้องยึดหลักการสะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น ทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้าหมายการเรียน ความเป็นระเบียบสวยงาม ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมี  ความสุข

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
1 การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
จัด ตกแต่งสภาพแวดล้อม ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสวนหย่อมหน้าห้องเรียน เพื่อความสวยงาม ความเพลิดเพลิน เอื้อต่อการพัฒนาการของเด็กหลักสำคัญในการจัดต้องยึดหลักการสะอาด ปลอดโปร่ง ร่มรื่น และคำนึงถึงความปลอดภัย เป้าหมายการเรียน ความเป็นระเบียบสวยงาม ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ และมี  ความสุขซึ่งอาจจัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมตามแนวการจัด
2 สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย
สภาพ อาคารเรียนควรเน้นความสะอาด สวยงาม ปลอดภัย ภายในจะมีการจัดเป็นมุมต่างๆ พร้อมสื่ออุปกรณ์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากการใช้สัมผัสทั้ง 5 มุม ประสบการณ์ เช่น มุมหนังสือ มุมดนตรี และในส่วนของความปลอดภัยทางโรงเรียนจะต้องจัดการซ่อมแซมและปรับปรุงส่วน ต่างๆให้มีความสะดวกและความปลอดภัยของเด็ก
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจ อย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนตามความเข้าใจของข้าพเจ้าคือการ จัดการเรียนการสอนแล้วเด็กมีความรู้ สามารถทำข้อสอบได้ ได้ถือว่า มีการพัฒนาเด็กได้อย่างมีคุณภาพแล้วและยังส่งผลต่อเนื่องถึงชีวิตในอนาคต
ตัวอย่าง เช่น นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งหนึ่งได้คะแนนระดับดี ถือเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพผู้เรียน และยังสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้เป็นจำนวน
มาก ถือเป็นผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
6.ผล จากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียน รู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
มีวิธีที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียนคือ
ผมขอนำเสนอกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน มีสาระสำคัญคือ
        1.มี การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน จัดอบรมส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในบางโอกาส
2.สนับสนุนการจัดตั้งชุมนุมจริยธรรม
3.มีกิจกรรมผึกให้นักเรียนทำสมาธิอย่างถูกวิธี เพื่อนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ


การสอบ

สอบครั้งที่ 2
ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน
2.HappinessClassroom
            หมายถึง การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอด หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ
4. formal Education
การศึกษาในระบบ  หมายถึง การ ศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล
5. non-formal education
ศึกษานอกระบบ หมายถึง การ จัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
6. E-learning
การ เรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ก็ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย เป็นต้น
7. Graded
หมายถึง การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
     นโยบายการศึกษา คือ หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น  
9. Vision
วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม
10. Mission
พันธกิจ หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไรเป็น พันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น
11. Goals
เป้าหมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือหมายถึง เป็นการกำหนดภารกิจของธุรกิจในรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการ เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าวัตถุประสงค์
12. Objective
วัตถุ ประสงค์ หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มี ลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design
หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการ พัฒนาตน เองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของ ครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness
ประสิทธิผล หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
15. Efficiency
ประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy
เศรษฐศาสตร์ หมายถึงการศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity
 หมายถึง ความเสมอภาพ18. Empowerment
หมายถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพ ที่ ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement
การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย20. Project
โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ โดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เป็นการจัดการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
21. activies
หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership
ความ เป็นผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23. Leaders
  ผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น
24. Follows
ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations
หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness
การ รู้จักตน หมายถึง การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28. Assertiveness
ความ กล้าแสดงออก หรือก้าวล้ำ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมา หากไปตกปากรับคำในสิ่งที่รู้แล้วว่าทำไม่ได้
29. Time management
การบริหารเวลา   หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30. PSDCORB
การบริหารงาน– Planning หมายถึง การวางแผน   O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D – Directing หมายถึง การสั่งการ Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ R – Reporting หมายถึง การรายงาน  B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ31. Formal Leaders
ผู้ นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
32. Informal Leaders
ผู้ นำแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ
33. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization
โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้น  หมายถึง  สภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกัน จนเกิดแบบแผน และพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency
ความ สามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ
35. Individual Behavior
พฤติกรรมบุคคล หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล เพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาอยากมี หรือ อยากเป็น ขึ้นอยู่กับสรีระและสิ่งแวดล้อม
36. Group Behavior
พฤติกรรมกลุ่ม หมายถึง เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่สองคนรวมกันเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายและเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
37. Organization Behavior
หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การ ได้แก่ ความสามารถ ความคาดหวัง
38. Team working
การทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats
หมวก หกใบหกสี หมายถึง แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาว
สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
สีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า  หมายถึง  การควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40. Classroom Action Research
หมาย ถึง รูปแบบของการวิจัยที่ครูกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของห้องเรียน

กิจกรรมที่ 9

ประเด็นสำคัญที่ได้จากการเรียนการสอนโทรทัศน์ครูเรื่อง  “ มอนเตสเซอรี่วิถีไทย ”
     การเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่    เป็นการเน้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยความสุข  จึงได้นำการเรียนรู้ผ่านของเล่นมาประยุกต์เข้ากับทฤษฎีมอนเตสเซอรี่ในโรงเรียน  เป็นการนำมอนเตสเซอรี่มาใช้ในบริบทแบบไทยๆ เน้นการเรียนรู้ผ่านของเล่น เช่น การจับคู่ขนมไทย  การจัดดอกไม้  การร้อยมาลัย  การทำอาหาร ฯลฯ  เพื่อ เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการใช้ความคิด การสังเกต ทำให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้และการช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกัน และกัน

หากไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่าอาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร
           จะต้องเป็นครูที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสอน  มีความรู้หลายด้าน  มีอัธยาศัยที่ดี  เข้าใจเด็กๆคอยชี้แนะปลูกฝังให้เด็กใช้ชีวิตตามแบบวิถีไทย  คอยพูดชักจูงให้เด็กมีความสนใจอยู่ตลอดเวลา  และที่สำคัญต้องให้อิสระกับเด็กในการเลือกของเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการตามที่เด็กสนใจเพื่อให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้

จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
    จะนำความรู้ที่ได้ไปเป็นหลักในการสอนหนังสือแก่เด็ก

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6 ใบ กับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร

                >  การสอนแบบหมวก 6 ใบนั้นมันจะคลอบคลุม พฤติกรรมทุกด้านที่สามารถนำไปปฎิบัติตามได้โดยมีรายละเอียดดังนี้
สรุปหมวกคิดสีขาว
                การคิดแบบหมวกสีขาวเป็นระเบียบวิธีและแนวทางในการเสนอข้อมูล  นักคิดต้องพยายามเป็นกลางให้มากและไม่ควรมีอคติ  สีขาวชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง  ข้อมูลครอบคลุมได้ตั้งแต่ข้อเท็จจริงและตัวเลขที่ตรวจสอบได้  ไปจนถึงข้อมูลที่ไม่แน่นอน  เราจะใช้หมวกขาวตอนเริ่มต้นของกระบวนการคิด  เพื่อเป็นความคิดที่กำลังจะเกิดขึ้น  และเราก็สามารถใช้หมวกสีขาวในตอนท้ายของกระบวนการได้เหมือนกัน  เพื่อทำการประเมิน  เช่น  เสนอโครงการต่างๆของเราเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่  ส่วนที่สำคัญของหมวกสีขาวคือ  การ ระบุถึงข้อมูลที่จำเป็นและขาดหายไปหมวกขาวจะบอกถึงปัญหาที่ควรจะยกขึ้นมาถาม และแสดงวิธีการเพื่อให้ได้มาเพื่อข้อมูลทีจำเป็นและมุ่งไปสู่การเสาะหาและตี แผ่ข้อมูล
 สรุปหมวกคิดสีแดง
                การใช้หมวกสีแดงจะทำให้มีโอกาสเปิดเผยความรู้สึก  อารมณ์  สัญชาตญาณหยั่งรู้ออกมาโดยไม่ต้องมีคำอธิบายหรือหาเหตุผลใด ๆ  สัญชาตญาณอาจจะอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมา  เจตนารมณ์ของหมวกแดงคือ  การแสดงความรู้สึกอย่างที่เป็นอยู่ออกมา  ไม่ใช่การบีบบังคับให้ตัดสินใจ  อารมณ์ทำให้ความคิดยุ่งเหยิง   หมวกสีแดงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการช่วยให้อารมณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล  ยอมรับได้   สิ่งที่ยากที่สุดในการสวมหมวกสีแดงคือ  การฝึกความรู้สึกที่ยากจะหาเหตุผลให้กับอารมณ์ที่แสดงออกมา  ซึ่งการหาเหตุผลนั้นอาจถูกหรือผิดก็ได้
 สรุปหมวกคิดสีดำ
                หมวกคิดสีดำ  คือหมวกแห่งการระแวดระวังภัย  ในการพิจารณาข้อคิดเห็น  ข้อเสนอแนะหรือเรื่องอะไรก็ตาม  เมื่อถึงจุดหนึ่ง  เราก็ต้องนึกถึงความเสี่ยง  อันตราย  อุปสรรค  ข้อด้อยหรือปัญหาที่อาจจะเกิด  หมวกสีดำชี้ให้เห็นชี้ให้เห็นสิ่งที่เราควรใส่ใจและไตร่ตรองเพราะมันเป็นจุดอ่อนหรือเป็นอันตราย  เราอาจใช้หมวกสีดำเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน    เราควรเดินหน้าไปกับข้อเสนอนี้ไหม  หรืออาจใช้หมวกสีดำในขั้นตอนการระดมสมองและก่อร่างสร้างแนวคิด  มีจุดอ่อนอะไรบ้างที่เราควรหาทางป้องกันและแก้ไข  หมวกสีดำจะช่วยแจกแจงให้เราเห็นภาพความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดข้น  หมวกสีดำจะมองหาความสอดคล้อง  กับประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือไม่  สอดคล้องกับนโยบายและวิธีการกับจริยธรรมค่านิยม  ทรัพยากร  และสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและประสบการณ์ของผู้อื่นหรือไม่
สรุปหมวกคิดสีเหลือง
                การคิดแบบหมวกสีเหลืองเป็นการคิดในแง่ดีและในเชิงสร้างสรรค์  และเป็นการคิดประเมินค่าในทางบวก  รวมไปถึงความฝันและวิสัยทัศน์  การคิดแบบหมวกเหลืองเป็นการสำรวจหาคุณค่าและประโยชน์แล้วจึงพยามยามจะหาเหตุผลสนับสนุนคุณค่าและผลประโยชน์นั้นๆ   จากความคิดจากหมวกเหลือง  เราจะได้ข้อเสนอและข้อแนะนำที่เป็นรูปธรรม  การคิดแบบหมวกสีเหลืองเกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น    อาจเป็นการคาดการณ์และการมองหาโอกาส  และจะก่อให้เกิดวิสัยทัศน์  จินตนาการและความฝัน
สรุปหมวกคิดสีเขียว
                หมวกสีเขียวเป็นหมวกแห่งพลังงาน  หมวกแห่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  หมวกสีเขียวจะผลักดันความคิดใหม่ๆออกมาและยังคิดถึงทางเลือกใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ทดแทนของเก่าได้   รวมถึงทางเลือกที่ชัดเจนและใหม่สดจริงๆ  เมื่อเราสวมหมวกเขียวเราหาวิธีปรับเปลี่ยนและปรับปรุงความคิดใหม่ที่เสนอมา  การค้นหาทางเลือกเป็นพื้นฐานของหมวกคิดสีเขียว  เราจะต้องไปให้ไกลกว่าความคิดเห็นที่รู้กันแล้วหรือเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว  ความคิดอาจหยุดเพื่อคิดสร้างสรรค์เพื่อพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นๆอีกหรือไม่  โดยไม่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมจึงต้องหยุด  เราใช้การเลื่อนไหวความคิดเข้ามาแทนที่การตัดสินพิจารณาความคิด   การคิดเคลื่อนไหวไปข้างหน้า  เพื่อไปให้ถึงความคิดใหม่  ความคิดเชิงยั่วยุใช้เพื่อกระตุกเราให้หลุดจากแบบแผนความคิดแบบเดิม  หรือการคิดนอกกรอบ
สรุปหมวกคิดสีฟ้า
                หมวกคิดสีฟ้าจะกำหนดประเด็นที่เราจะต้องคิด  กำหนดความสนใจ  อะไรคือปัญหาอะไรคือคำตอบ  หมวกสีฟ้าจะกำหนดงานที่จะกำหนดงานคิดที่จะต้องทำ  ตั้งแต้ต้นจนจบและมีหน้าที่สรุป   วิเคราะห์สถานการณ์  และลงมติต่าง ๆ  หมวกคิดสีฟ้าต้องติดตามตรวจสอบการคิดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกติกาการคิด  หมวกคิดสีฟ้าจะหยุดยั้งการโต้แย้งถกเถียง  และยืนกรานตามแผนที่ความคิด  จะคอยดูให้กระบวนการคิดเป็นไปตามกฎเกณฑ์
โดยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานนั้นเป็น
                การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึง เป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้การให้นักเรียนผู้ ทำโครงงานได้เสนอผลงาน เป็นการเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก เชื่อมั่นในผลงาน ตอบข้อซักถามของผู้สนใจได้  จากปีการศึกษา  2548-2550  ที่ ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของสาธารณะชนว่า กิจกรรมการสอนแบบโครงงานเป็นที่น่าภาคภูมิใจโดยเฉพาะนักเรียนได้รับเกียรติ บัตรรางวัลในระดับการประกวดโครงงานต่าง ๆ มากมาย เช่น
-          โครงงานน้ำส้มควันไม้สมุนไพรกำจัดปลวก
-          โครงงานผ้าสวยด้วยสมุนไพร
-          โครงงานกังหัน พี วี ซี
-          โครงงานหอยเชอรี่เพิ่มประสิทธิภาพไก่ไข่  ฯลฯ